เบื้องหลังหายนะเรือดำน้ำ OceanGate Titan

เรือดำน้ำ Oceangate Titan
เรือดำน้ำ Oeangate Titan

การท่องเที่ยวในยุคนี้ก้าวหน้าอย่างมากทั้งพุ่งขึ้นไปในอวกาศและดำดิ่งสู่ทะเลลึก จนเกิดเหตุระทึกเมื่อเรือดำน้ำ OceanGate Titan ระเบิดในขณะเดินทางสำรวจซากเรือไททานิคใต้ทะเล จนกลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ ซึ่งเราจะมาเจาะลึกว่ามีเบื้องลึกและเบื้องหลังอย่างไรเพื่อเรียนรู้ไปด้วยกันครับ

เรือดำน้ำ Titan ดำลงไปสำรวจเรือไททานิคทำไม?

Oceangate Titan
สำรวจเรือ Titanic ด้วยเรือดำน้ำ Titan

คุณสงสัยไหมว่า ทำไมพวกเค้าต้องเสี่ยงชีวิตดำลงไปดูซากเรือไททานิคที่จมอยู่ใต้ทะเลลึกซึ่งอันตรายมากๆ กันด้วย?

1 เสน่ห์ของการผจญภัย

Titanic
ซากเรือไททานิค

เรือไททานิค เป็นหนึ่งในซากเรืออับปางที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก เพราะเต็มไปด้วยเรื่องเล่าและเรื่องราวมากมาย ซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุในการเดินทาง ระว่างเมือง Queenstown ประเทศ Ireland ไปยังเมือง New York ของอเมริกา แต่เรือเกิดชนภูเขาน้ำแข็ง ในมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนเหนือ ห่างจากเมือง Newfoundland ของ Canada

แล้วจมลงสู่ก้นทะเลลึกถึง 3.8 ก.ม. โดยมีส่วนหัวเรือ และท้ายเรืออยู่ห่างกัน 600 เมตร ตั้งแต่ปี 1912 มานานกว่า 100 ซึ่งแม้จะมีข้อมูลจากข่าวและหนังดังอย่าง Titanic ให้เห็นกันแล้ว แต่ยังคงเต็มไปด้วยเสน่ห์ความน่าสนใจและทิ้งปริศนาคาใจอาไว้มากมาย กลายเป็นจุดหมายที่เหล่านักผจญภัยต่างใฝ่ฝันที่จะพิชิตเพื่อพิสูจน์ให้เห็นด้วยตาตัวเองสักครั้งในชีวิต ซึ่งทุกวันนี้ยังมีน้อยคนบนโลกมากๆ ที่เข้าถึงได้  เพราะเป็นพื้นที่อันตรายมากๆ ซึ่งมีความท้าทายและค่าใช้จ่ายมหาศาล

2 วิกฤตคือโอกาส

Stockton Rush
Stockton Rush

Stockton Rush นักธุรกิจชาวอเมริกันซึ่งชื่นชอบการดำน้ำและเคยเป็น วิศวกรทดสอบการบินของเครื่องบิน F-15 มาก่อน ได้มองเห็นโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีเรือดำน้ำลึก สำหรับการท่องเที่ยวให้มีต้นทุนที่ถูกลง เพื่อให้คนสามารถชมซากเรือไททานิคได้มากขึ้น

โดยปี 2009 ได้เริ่มก่อตั้ง บ. OceanGate เพื่อพัฒนาเรือดำน้ำ Titan ขึ้น แล้วเริ่มเปิดให้บริการแพ็คเกจทัวร์ชมซากเรือไททานิค ด้วยราคาคนละ 8,750,000 บาท (250,000 US) ซึ่งดูเหมือนแพง แต่ก็ยังถือว่าถูกกว่าคู่แข่งมาก จนสามารถดึงดูดนักผจญภัยกระเป๋าหนักมากมาย

การสร้างเรือดำน้ำท้าทายและอันตรายแค่ไหน?

Oceangate Titan
การพพัฒนาเรือดำน้ำ Oceangate Titan

การพัฒนาเทคโนโลยีเรือดำน้ำลึกเป็นเรื่องที่ท้าทายสุดๆ เพราะต้องต่อสู้และเอาชนะแรงดันอันมหาศาลใต้ผิวน้ำดังนี้

โดยปรกติแล้วที่ระดับน้ำทะเล เมื่อดำลึกลงไปทุก 10 เมตร จะมีแรงดันน้ำรอบตัวคุณ เพิ่มขึ้น 1 เท่าของชั้นบรรยากาศ หรือ 14.7 psi ซึ่งเท่ากับ 1 kg/cm2 โดยประมาณ

หมายความว่า ถ้าเรือดำน้ำคุณมีพื้นที่กว้าง 1 cm ยาว 1 cm ที่ความลึก 10 เมตร จะมีแรงดัน เหมือนมีน้ำหนัก 1 กก กดทับรอบตัวคุณ

และถ้าเรือดำน้ำคุณมีพื้นที่กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร ความลึก 10 เมตร จะมีแรงดัน เหมือนมีน้ำหนัก 10,000 กก กดทับรอบตัวคุณ หรือ 10,000 kg/m2 (1 ตร.ม. = 10,000 ตร.ซม.)

คือ แค่ลึก 10 เมตร เรือดำน้ำคุณต้องรับน้ำหนัก Tesla 3 ถึง 5 คัน เลยครับ

เมื่อดำลึกลงไปทุก 100 เมตร จะมีแรงดันน้ำรอบตัวคุณ เพิ่มขึ้น 10 เท่าของชั้นบรรยากาศ 10 kg/cm2 หรือ 100,000 kg/m2

ที่ 828 เมตร คือระดับความลึกสูงสุดของเรือดำน้ำที่สามารถดำน้ำลึกที่สุดในโลกทำงานได้ เช่น เรือดำน้ำ the Oscar Class ของกองทัพเรือรัสเซีย จะมีแรงดันน้ำรอบตัวคุณ เพิ่มขึ้น 82 เท่า หรือมีน้ำหนักบนพื้นที่ 1 m2 820,000 kg

Oceangate Titan
ความดันมหาศาล

ซากเรือ Titanic อยู่ที่ 3,800 เมตร 380 เท่าของชั้นบรรยากาศ 3,800,000 kg/m2

ซึ่งฟังดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยากและเป็นไปไม่ได้

แต่ก็มีบางคนอย่าง James Cameron ผู้กำกับหนังดังจากเรื่อง Titanic ก็สามารถสร้างสถิติดำน้ำลึกที่สุดในโลกด้วยตัวคนเดียว โดยใช้ เรือดำน้ำ Deepsea Challenger

ลึก 10,908 เมตร 1,100 เท่าของชั้นบรรยากาศ 11,000,000 kg/m2 ซึ่งลึกกว่า Titanic เกือบ 3 เท่า มาแล้วตั้งแต่ปี 2012

ความยากในการเอาชนะแรงดันอันมหาศาลใต้ผิวน้ำเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การสำรวจใต้ทะเลลึกเป็นเรื่องที่ต้องใช้งบประมาณสูงมากและน้อยคนจะทำได้ เพราะมีความท้าทายและอันตรายสุดๆ

โดยการพัฒนาเรือดำน้ำจะแยกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

1 Submarine

เรือดำน้ำ
เรือดำน้ำแบบ Submarine

ปรกติแล้วเรือดำน้ำที่เราเห็นในหนัง มักเป็นเรือดำน้ำขนาดใหญ่ทางทหาร เรียกว่า Submarine ซึ่งมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกในแนวนอนและมีห้องโดยสารเป็นลำตัวกลวงแนวยาว ซึ่งมีข้อดีคือสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้หลายคน รองรับการเดินทางใต้น้ำระยะใกลเป็นเวลานานได้แบบเบ็ดเสร็จในลำเดียว แต่ก็มีข้อเสียเพราะมีพื้นที่ขนาดใหญ่ทำให้ต้องรับแรงดันเยอะ ทำให้เรือดำน้ำที่ดำได้ลึกที่สุดในโลกยังดำลึกได้ไม่ถึง 1 ก.ม.

2 Submersible

Titan Submersible
เรือดำน้ำ Submersible

เป็นเรือดำน้ำสำรวจทะเลลึก ซึ่งต้องพยายามทำให้ห้องโดยสารมีขนาดเล็กที่สุดเพื่อลดแรงดันให้ได้สูงสุดและจะออกลำตัวให้กลวงเป็นทรงกลม ซึ่งมีข้อดีคือสามารถทนแรงดันมหาศาลของน้ำจากทุกทิศทุกทางได้เท่ากันแบบ 360 องศาเพื่อความปลอดภัย แต่ก็มีข้อเสียคือความจุน้อย ทำให้สามารถใช้โดยสารได้เพียงคนเดียวหรือสองคนเท่านั้น แถมยังอยู่ในน้ำได้ไม่นานและเดินทางในแนวราบได้ไม่ใกล ทำให้ต้องทำงานร่วมกับ เรือสนับสนุนที่อยู่ผิวน้ำอย่างใกล้ชิดเสมอ

Deepsea Challenger
เรือดำน้ำ Deepsea Challenger

เช่น เรือดำน้ำ Deepsea Challenger ของ James Cameron ซึ่งเป็นยานที่มีห้องโดยสารกลวงเป็นทรงกลม ช่วยให้ James Cameron สร้างสถิติดำน้ำลึกที่สุดในโลกซึ่งอยู่ลึกถึง เกือบ 11 ก.ม.  มาแล้ว

James Cameron
James Cameron

เรือดำน้ำ Titan น่ากลัวแค่ไหน?

เรือดำน้ำ Oceangate Titan
ความเสี่ยงของ Titan

เรือดำน้ำ Oceangate Titan เป็นเรือดำน้ำสำรวจทะเลลึก หรือ Submersible ทรงกระบอก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.42 เมตร ยาว 6.7 เมตร รองรับผู้โดยสารแบบนั่งกับพื้น ได้ 5 คน น้ำหนัก 10,432 kg ซึ่งขับเคลื่อนด้วยใบพัด 4 ตัวโดยใช้ระบบไฟฟ้า ด้วยความเร็ว 5.6 km/h โดยออกแบบด้วยความแตกต่างที่ไม่เหมือนใครจนกลายเป็นความเสี่ยงมากมายที่เหมือนระเบิดเวลาดังนี้

1 ห้องโดยสาร

ห้องโดยสาร Titan
ห้องโดยสาร Titan
Deepsea Challenger
ห้องโดยสารของ Deepsea Challenger

ในขณะที่เรือดำน้ำสำรวจทะเลลึกทั่วไป ออกแบบให้มีลำตัวลำตัวกลวงเป็นทรงกลม เพื่อความปลอดภัยจากแรงดันน้ำแบบทุกทิศทุกทาง 360 องศาได้เท่ากัน แต่ Titan กลับออกแบบให้ลำตัวกลวงตามแนวยาว เพื่อให้สามารถบรรทุกผู้โดยสารไปชมเรือไททานิคได้เพิ่มขึ้นเป็น 5 คน ซึ่งต้องดำน้ำลึกถึงเกือบ 4 ก.ม.  ทำให้ห้องโดยสารมีความเสี่ยงเรื่องความแข็งแรง เพราะห้องโดยสารแต่ละด้านรับแรงดันได้ไม่เท่ากัน

2 การเลือกใช้วัสดุ

Oceangate Titan
วัสดุของ Titan

ในขณะที่เรือดำน้ำสำรวจทะเลลึกทั่วไป จะให้วัสดุเดียวกันในการทำห้องโดยสาร เช่น ไททาเนียม หรือเหล็กกล้า เพราะเป็นวัสดุที่ผ่านการศึกษาและพิสูจน์มากมายว่าสามารถรองรับการหดและขยายตัวเพื่อใช้กับเรือดำน้ำได้อย่างปลอดภัยเป็นเวลานาน

แต่ Titan เลือกใช้วัสดุผสม โดยมีฝาครอบส่วนหัวและส่วนท้ายใช้ไททาเนี่ยม และลำตัวซึ่งเป็นทรงกระบอกยาว 2.5 เมตร ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งแม้จะเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงสูงและน้ำหนักเบา แต่ไม่เคยมีการศึกษาและพิสูจน์ในการใช้ทำเรือดำน้ำมาก่อน ทำให้ห้องโดยสารมีความเสี่ยงทั้งเรื่องความแข็งแรงของคาร์บอนไฟเบอร์ และความแข็งแรงของจุดเชื่อมต่อที่อาจหดและขยายตัวไม่เท่ากันของการใช้วัสดุที่แตกต่างกัน

3 หน้าต่างอะคริลิก

Oceangate Titan
หน้าต่าง Titan

Titan เลือกใช้หน้าต่างอะคริลิกขนาดใหญ่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถชมวิวภายนอกได้กว้างขึ้น แต่เป็นหน้าต่างที่ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยที่ระดับความลึก 1,300 เมตร มาใช้กับการดำน้ำลึกระดับ 4,000 เมตร ซึ่งลึกกว่ามาตรฐานถึง 3 เท่า เสี่ยงมากๆ

4 ระบบประตู

Oceangate Titan
ระบบประตู Titan

เรือดำน้ำ Oceangate Titan ใช้ระบบประตูแบบด้านเดียว ด้วยการขันน็อตปิดและเปิดได้จากด้านนอกเท่านั้น ทำให้มีความเสี่ยงที่คนในไม่สามารถเปิดประตูเพื่อช่วยเหลือตัวเองได้ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

5 ระบบความปลอดภัย

Titan Submersible
เรือดำน้ำ Titan

เนื่องจากการเดินทางในน่านน้ำสากลไม่มีกฎหมายรองรับ ทำให้ Titan เลือกที่จะไม่ผ่านการทดสอบเพื่อรับรองมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยใดๆ เลย เพราะ OpenGate เชื่อมั่นในมาตรฐานของตัวเอง และแม้คนในอย่าง David Lochridge อดีตผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติกการทางทะเลของ OceanGate เตือนถึงปัญหาเรื่องความไม่ปลอดภัยของเรือ Titan แต่กลับถูก Stockton Rush ไล่อออกและฟ้องร้องจนเป็นคดีความกันในศาล

David Lochridge
David Lochridge

เกิดอะไรขึ้นกับเรือดำน้ำ Titan ?

Oceangate Titan
ซากเรือดำน้ำ Titan

โดยปรกติแล้วในการดำน้ำเพื่อชมซากเรือไททานิคแต่ละทริป เรือดำน้ำ Titan จะใช้เวลารวมทั้งหมดประมาณ  8 ชั่วโมง โดยจะค่อยๆ ดำจากผิวน้ำสู่ซากเรือไททานิคโดยใช้เวลา 2 ชม. และอยู่ใต้น้ำ 3-4 ชั่วโมง แล้วขึ้นสู่ผิวน้ำโดยใช้เวลาอีก 2 ชั่วโมง

Oceangate Titan
เส้นทางทริปชมซากเรือไททานิคของเรือดำน้ำ Titan

แต่หลังจาก เปิดให้บริการได้ไม่กี่เที่ยว ในวันที่ 18 มิ.ย. 2023 เรือดำน้ำ Titan ได้ขาดการติดต่อกับเรือสนับสนุนที่ผิวน้ำ และเมื่อหน่วยกู้ภัยออกค้นหา ก็พบชิ้นส่วนของเรือดำน้ำ Titan ที่ก้นทะเลใกล้ซากเรือไททานิค ซึ่งเกิดจากการระเบิดด้วยแรงบีบอัดมหาศาลแบบเฉียบพลันขึ้น จนผู้โดยสารทั้งหมด 5 คนเสียเชีวิตในทันที ซึ่งรวมถึง Stockton Rush ที่เป็น CEO และผู้ก่อตั้ง OceanGate ด้วย

หน่วยพิสูจน์หลักฐาน ได้กู้ซากเรือ Titan ขึ้นจากทะเล เพื่อทำการพิสูจน์หลักฐานในรายละเอียดต่อไป

เรือดำน้ำ Titan สรุป

Oceangate Titan
เรือดำน้ำไททัน

การแข่งขันด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเช่น เครื่องบิน ยานอวกาศ หรือเรือดำน้ำ เพื่อการท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่เจ๋งสุดๆ เพราะช่วยให้คุณมีโอกาสได้ใช้ของดีขึ้นในราคาที่ถูกลง เหมือนกับตั๋วเครื่องบินสมัยนี้ที่ใครๆ ก็บินได้ แต่การลดราคาและต้นทุน โดยไม่คิดถึงความความเสี่ยงและความปลอดภัยที่มากพอ จนเกิดเรื่องเศร้าเหมือน เรื่องเรือดำน้ำ Titan ของ OceanGate นั้นได้ไม่คุ้มเสียจริงๆครับ

จริงๆ แล้วทุกวันของชีวิตคุณก็เหมือนการผจญภัย ที่การตัดสินใจทุกอย่างล้วนมีความเสี่ยง และแต่ละคนก็รับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน แล้วคุณคิดว่า ทุกคนที่ตัดสินใจลงเรือลำเดียวกันนี้ มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยงที่เราคุยกันในคลิปนี้เท่ากันมั๊ย ซึ่งพี่คิดว่าไม่ แต่เราก็ควรได้เรียนรู้อะไรจากความผิดพลาดในครั้งนี้ร่วมกันครับ

คุณคิดยังไงกับเรื่องเรือดำน้ำ Titan ในโพสนี้ ช่วยคอมเม้นเล่าสู่กันฟังบ้าง? ถ้าชอบช่วย share ให้เพื่อนคุณโดนด้วยกันครับ

เรื่องเทคโนโลยีอื่นซึ่งคุณอาจชอบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *